หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา

 

คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขยายใหญ่

                ทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันในตอนนั้น ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ , สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ , กรมศิลปากรหน่วยราชการของจังหวัดพะเยา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาเป็นหัวหน้า , วัดศรีโคมคำ , ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา และ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
           ทำไมต้อง " หอวัฒนธรรมนิทัศน์ " ที่วัดศรีโคมคำ เนื่องจากจังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดเล็ก ๆ และได้รับยกฐานะเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2520 แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ปรากฎว่า จังหวัดพะเยาเคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ในนามที่เรารู้จักกันก็คือ อาณาจักรภูกามยาว หรือ เมืองพยาว
          ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรภูกามยาว เริ่มมาจากพุทธศักราช 1639 สร้างอาณาจักรโดย ขุนจอมธรรม กษัตริย์ที่สืบเชื้อสายมาจากหิรัญนครเงินยางเชียงแสน พุทธศักราช 1663 สมัยพระยาเจื๋องครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 พระองค์ทรงเป็นนักรบ และขยายอาณาจักรกว้างขวางใหญ่ไพศาลทั่วเขตแดนแถบกลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน พุทธศักราช 1801 พะยางำเมือง ขึ้นครองราชย์ร่วมสมัยกับพระยามังราย แห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหง แห่งสุโขทัย และพุทธศักราช 1994 สมัยพะยาสองแควที่ได้ขึ้นครองราชย์อาณาจักรภูกามยาว ในพระนาม " พระยายุธิษฐิระ "
ซึ่งถือเป็นยุคสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เห็นได้จากการสร้างวิหาร วัดวาอาราม และพระพุทธรูปหินทรายของสกุลช่างพะเยาอยู่มากมาย
            พุทธศักราช 2101 กองทัพพม่าจากกรุงหงสาวดีได้เข้ามายึดเมืองเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าตั้งแต่นั้นมา ตลอดระยะเวลาดังกล่าว เจ้าครองหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตล้านนา ได้คิดขบถอยู่เนื่อง ๆ เกิดศึกกับพม่าบ้าง กับกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาบ้าง บ้านเมืองวุ่นวายหาความสงบลงไม่ได้
           พุทธศักราช 2317 กองทัพพระยาตากสินมหาราชตีเมืองเชียงใหม่ พุทธศักราช 2330 พระเจ้าอังวะโปรดให้อะแซวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกกองทัพใหญ่มาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมเอาเมืองฝาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน และเมืองพะเยาเข้าด้วยกัน กองทัพเชียงใหม่ นำโดยกองทัพพระเจ้ากาวิละ ร่วมกับกองทัพกรุงเทพฯ ตีทัพพม่าแตกพ่ายไป ครั้งนั้นบรรดาเจ้าเมือง รวมทั้งประชาชนที่ถูกพม่าครอบครอง ต่างก็อพยพไปอยู่ที่เมืองลำปาง สำหรับชาวพะเยา ได้ไปอยู่ที่บ้านปงสนุก และทิ้งเมืองพะเยาให้เป็นเมืองร้างถึง 56 ปี จนพุทธศักราช 2386 รัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้เจ้าผู้ครองนครจากเมืองลำปาง นำชาวเมืองพะเยากลับคืนบ้านเกิดเหมือนเดิม

หน้าผ่านมา  หน้าต่อไป

ศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฯอำเภอเมืองพะเยา "ชาวบ้านดอทคอม" www.jaoban.com"
E-Mail: MuangPhaya@hotmail.com